วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิต

 กลุ่มสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรามีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชวิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเรียกว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิต
     ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่งเรียกว่า ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
     1. ระบบนิเวศบนบก เช่น
          • ระบบนิเวศป่าไม้
          • ระบบนิเวศทะเลทราย
          • ระบบนิเวศทุ่งหญ้า
          • ระบบนิเวศชายป่า
     2. ระบบนิเวศในน้ำ เช่น
          • ระบบนิเวศน้ำจืด
               - หนองน้ำ
               - แม่น้ำ
          • ระบบนิเวศน้ำเค็ม
               - ทะเล
               - มหาสมุทร

ลักษณะความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

1. ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน     ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแบบซิมไบโอซิส เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน โดยไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน เช่น
          - นกเอี้ยงบนหลังควาย โดยนกเอี้ยงช่วยจิกแมลงที่รบกวนบนหลังควาย ในขณะเดียวกันควายก็เป็นแหล่งอาหารของนกเอี้ยง
          - ดอกไม้กับผึ้ง  ผึ้งได้น้ำหวานจากดอกไม้ ดอกไม้ได้รับการขยายพันธุ์โดยผึ้งเป็นผู้ช่วย
          - มดดำกับเพลี้ยอ่อน มดดำดูดน้ำเลี้ยงจากเพลี้ยอ่อน และคาบเพลี้ยอ่อนไปวางตามที่ต่าง ๆ เพลี้ยอ่อนได้แหล่งอาหารใหม่

2. ความสัมพันธ์แบบต้องพึ่งพาอาศัยกัน
     ความสัมพันธ์แบบต้องพึ่งพากัน เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดได้ประโยชน์โดยที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันตลอดชีวิต เช่น
          - ต่อไทรกับลูกไทร ต่อไทรเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ในลูกไทรตลอดชีวิต ส่วนต้นไทรสืบพันธ์ต่อไปได้เพราะต่อไทรทำหน้าที่ผสมเกสร
          - โปรโตซัวในลำไส้ของปลวก ปลวกอาศัยโปรโตซัวลำไส้ของปลวก ปลวกจะอาศัยโปรโตซัวช่วยย่อยเนื้อไม้หรือกระดาษที่ปลวกกินเข้าไป ส่วนโปรโตซัวก็ได้อาหารจากปลวก
          - ไลเคน (รากับสาหร่าย) ไลเคนที่ขึ้นอยู่กับต้นไม้ เป็นชีวิตระหว่างเชื้อรากับสาหร่ายอยู่ร่วมกัน โดยที่สาหร่ายสร้างอาหารได้เองและอาศัยความชื้นจากเชื้อรา ราจะดูดอาหารที่สาหร่ายอยู่ร่วมกัน โดยที่สาหร่ายสร้างอาหารได้เองและอาศัยความชื้นจากเชื้อรา ราจะดูดอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้น

3. ความสัมพันธ์แบบอิงอาศัย
     ความสัมพันธ์แบบอิงอาศัยหรือแบบได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว หมายถึงสิ่งมีชีวิตสองชนิดมาอาศัยอยู่ด้วยกันโดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่เสียประโยชน์อาจจะเรียกการอยู่ร่วมกันแบบนี้ได้ว่า เป็นแบบเกื้อกูล
          - กล้วยไม้ พลูด่าง เฟิร์น กับต้นไม้ใหญ่ ที่อาศัยอยู่เฉพาะบริเวณของเปลือกต้นไม้ ไม่ได้แย่งอาหารภายในลำต้น
          - เหาฉลามกับปลาฉลาม ก็ได้อาศัยอาหารที่ลอยมากับน้ำ ทั้งนี้มิได้แย่งอาหารของปลาฉลาม ปลาฉลามก็ไม่เสียประโยชน์
          - หมาไฮยีนากับสิงโต หมาไฮยีน่าจะคอยกินซากเหยื่อจากที่สิงโตกินอิ่มและทิ้งไว้ ส่วนสิงโตไม่ได้ประโยชน์อะไรจากหมาไฮยีนา

4. ความสัมพันธ์แบบล่าเหยื่อ
     ความสัมพันธ์แบบล่าเหยือ เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่มีชีวิตทั้ง 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ล่า และอีกฝ่ายเป็นผู้ถูกล่าหรือเป็นเหยือ ผู้ล่า เป็นผู้ได้ประโยชน์ ส่วนผู้ถูกล่าจะเป็นผู้เสียประโยชน์ เช่น
          - หนอนกับใบไม้  หนอนเป็นผู้ล่า ใบไม้เป็นเหยื่อ
          - นกกับหนอน  นกเป็นผู้ล่า หนอนเป็นเหยือ
          - แมวกับหนู  แมวเป็นผู้ล่า หนูเป็นเหยื่อ

5. ความสัมพันธ์แบบพาราสิต
     ความสัมพันธ์แบบพาราสิตเป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น
          - พยาธิกับคน พยาธิเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในตัวสัตว์อื่น เช่น คน สุนัข แมว สุกร โดยพยาธิจะดูดกินเลือดของสัตว์ที่มันอาศัยอยู่ จนทำให้สัตว์นั้นมีสุขภาพทรุดโทรมทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้
          - กาฝากกับต้นไม้ใหญ่ กาฝากบนต้นไม้ใหญ่คอยแย่งอาหารจากต้นไม้ ซึ่งขณะเดียวกันต้นไม้ก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากกาฝากเลย

โซ่อาหารและสายใยอาหาร
     โซ่อาหารเป็นการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยมี

โซ่อาหาร
โซ่อาหารและสายใย

 

  ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น


        สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ดิน หิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์สิ่งต่างๆ เหล่านี้ รวมเรียกว่า ทรัพยากรธรรมชาติ

มนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย เช่น สร้างที่อยู่อาศัย การอุปโภค บริโภค การเกษตร การอุตสาหกรรม ตลอดจนการค้า เมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติก็เพิ่มขึ้น ตามจะส่งผลให้เกิดอะไรขึ้นกับท้องถิ่นนั้นๆ ลองสำรวจและค้นหาดูซิว่าท้องถิ่นของเรานั้นมีทรัพยากรธรรมชาติอะไรบ้าง มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และจะใช้ทรัพยากรอย่างไรจึงจะประหยัดและคุ้มค่ามีใช้ได้นานตลอดไป

        ท้องถิ่นของเรามีทรัพยากรธรรมชาติอะไรบ้าง

สำรวจดูซิว่าในท้องถิ่นของเรามีทะเล ภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้หรือไม่

ทะเล ภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะเต็มไปด้วยดิน หิน น้ำ ต้นไม้ สัตว์ป่า ตลอดจนน้ำมันดิบ ถ่านหิน และแร่ต่างๆ

         การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่อไปนี้

       ดิน เกิดจากการผุพังสลายตัว ของหินทับถมกับซากพืชซากสัตว์เป็นเวลานาน มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มนุษย์ใช้ดินสร้างที่อยู่อาศัย ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประกอบอาชีพต่างๆ น้ำ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ของสิ่งมีชีวิต มนุษย์ใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค การเกษตร การประมง การคมนาคมและการขนส่ง นอกจากนี้ยังใช้แรงจากน้ำ ในการผลิตกระแสไฟอีกด้วย

แร่ เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ เช่น ควอตซ์ เหล็ก ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี อลูมิเนียม ทองคำ เป็นต้น มนุษย์มีการนำแร่ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน เช่น สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องประดับ สิ่งก่อสร้าง ยานพาหนะ และใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนเป็นสินค้าออก

       ป่าไม้ เนื่องจากประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อน ฝนตกชุกมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกกระจายทั่วประเทศ ทำให้ป่าไม้กระจายอยู่ทั่วไป
ป่าไม้มีพืชพรรณไม้ นานาชนิด และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มนุษย์นำเอาผลิตผล จากป่าไม้มาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้ในการก่อสร้าง อาหาร และยาสมุนไพร

         ปัญหาของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
บางท้องถิ่นมีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้มากเกินไป ทำให้ทรัพยากรไม่สามารถเกิดทดแทนได้ทันกับความต้องการของมนุษย์ เกิดปัญหาทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ตามมามากม
เรามีวิธีใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร จึงจะประหยัดและคุ้มค่า ปลูกป่า ป่าไม้ที่สวยสดงดงามทรัพยากรธรรมชาติมีประโยชน์ต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เราจึงควรช่วยกันดูแลรักษา ให้ทรัพยากรในท้องถิ่นของเรามีอยู่และใช้ได้นานๆ ตลอดไป


 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ
            1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
            2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
            3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
            4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ      สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
            5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
            6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น
 2.  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
            1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง
            2) การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น
            3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
            4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการวางแผนพัฒนา การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นต้น
            5) การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสันและระยะยาว เพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม
                                                                                    

 1.ปัญหาสิ่งแวดล้อม


ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร

- ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่

ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร

ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหญ่

ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล

ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารพิษกำจัดแมลงทางการเกษตร

ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืดที่เกิดจากการทำลายป่าเพื่อการเกษตร การขยายตัวของชุมชนและเมืองต่าง ที่ก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมคุณภาพ

ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล
ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าหรือบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
ปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน
ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร

1 ความคิดเห็น: