วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Biodiversity นักชีววิทยากล่าวถึง ความหลากหลายทางชีวภาพใน 3 ระดับ ดังนี้
ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ได้แก่
ความหลากหลายขององค์ประกอบทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต ซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะ ทางพันธุกรรมต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป ทั้งภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันและระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ระดับความแตกต่างนี่เอง ที่ใช้กำหนดความใกล้ชิด หรือ ความห่างของสิ่งมีชีวิตในสายวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตที่สืบทอดลูกหลาน ด้วยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศหรือ
สิ่งมีชีวิตที่เป็นฝาแฝดเหมือน ย่อมมีองค์ประกอบพันธุกรรมเหมือนกัน เกือบทั้งหมด เนื่องจากเปรียบเหมือนภาพพิมพ์ของกัน และ กันสิ่งมีชีวิตที่สืบทอดมาจากต้นตระกูลเดียวกัน ย่อมมีความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรม มากกว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่ญาติกัน ยิ่งห่างก็ยิ่งต่างกันมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดต่างกลุ่ม หรือ ต่างอาณาจักรกัน ตามลำดับ
นักชีววิทยา มีเทคนิคการวัดความหลากหลายทางพันธุกรรมหลายวิธี แต่ทุกวิธี อาศัยความแตกต่างขององค์ประกอบทางพันธุกรรม เป็นดัชนีในการวัด หากสิ่งมีชีวิตชนิดใด มีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ย่อมแสดงว่า สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม 
ความหลากหลายของชนิดหรือชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (species diversity) ความหลากหลายแบบนี้วัดได้จากจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต และ จำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด รวมทั้งโครงสร้างอายุและเพศของประชากรด้วย 
ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecological diversity) ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย (habitat) ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพ และชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้น สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีวิวัฒนาการ มาในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระบบนิเวศที่หลากหลาย แต่บางชนิด ก็อยู่ได้เพียงระบบนิเวศ ที่มีภาวะเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ความหลากหลายของระบบนิเวศ ขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ผ่านกระบวนการวิวัฒนาการในอดีต และ มีขีดจำกัดที่จะดำรงอยู่ในภาวะความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรของมันเองส่วนหนึ่ง และ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง
หากไม่มีทั้งความหลากหลายทางพันธุกรรม และ ความหลากหลายของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนั้นย่อมไร้ทางเลือก และ หมดหนทางที่จะอยู่รอดเพื่อสืบทอด ลูกหลาน ต่อไป

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต


ชื่อสามัญ หมายถึง ชื่อที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม

       ชื่อวิทยาศาสตร์(SCIENTIFIC NAME) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ใช้เป็นหลักสากลเดียวกัน การเขียนหรือพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ ต้องให้แตกต่างจากข้อความทั่วไป โดยอาจพิมพ์ด้วยตัวเอง หรือ ขีดเส้นใต้ทั้งสองคำแยกจากกันคำนำหน้าเป็นชื่อจีนัส ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่
คำหลังขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็กเป็นชื่อเฉพาะ ซึ่งอาจแสดงรูปพรรณสัญฐาน หรือที่มาเช่น Homo sapiens หรือ Taenia solium เป็นต้น


อาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA)


สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง และมีระยะตัวอ่อน (EMBRYO) สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์แบ่งออกเป็นไฟลัมต่างๆดังนี้
1. ไฟลัมพอริเฟอรา (PHYLUM PORIFERA)
สัตว์ที่ลำตัวเป็นรูพรุน ได้แก่ ฟองน้ำ
    
   
2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา(PHYLUM COELENTERATA)
สัตว์ที่มีลำตัวกลวง ระบบประสาทเป็นแบบร่างแหประสาท(NERVE NET) ได้แก่ แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา และไฮดรา
  
 

3. ไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส(PHYLUM PLATYHELMINTHES)
หนอนตัวแบนเป็นสัตว์กลุ่มแรกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด และพลานาเรีย
    
  
4. ไฟลัมนีมาโทดา(PHYLUM NEMATODA)
หนอนตัวกลม ไม่มีปล้อง เคลื่อนที่ด้วยการเอี้ยวตัวสลับกันไปมา ได้แก่ พยาธิตัวกลมต่างๆ เช่น พยาธิไส้เดือน ไส้เดือนฝอย และหนอนในน้ำส้มสายชู
  
 

5. ไฟลัมแอนนิลิดา (PHYLUM ANNILIDA)
หนอนปล้องเป็นพวกแรกที่มีระบบเลือดแบบปิด ขับถ่ายโดยเนฟริเดียม (NEPRIDIUM) ได้แก่ ไส้เดือนดิน แม่เพรียง หากดูดเลือด และปลิงน้ำจืด
6. ไฟลัมอาร์โทรโปดา (PHYLUM ARTHROPODA)
สัตว์ที่มีขาและรยางค์อื่นๆ ต่อกันเป็นข้อๆ เป็นสัตว์กลุ่มใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ได้แก่ กุ้ง กั้ง ปู แมลง เห็บ ไร ตะขาบ กิ้งกือ แมงมุม แมงดาทะเล

  
 

7.ไฟลัมมอลลัสกา(PHYLUM MOLLUSCA)
สัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม ได้แก่ หมึกและหอยชนิดต่างๆ

  
 

8.ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (PHYLUM ECHINODERMATA)
สัตว์ที่ผิวหนังมีหนามขุรขระ ได้แก่ ดาวทะเล เม่นทะเล เหรียญทะเล ปลิงทะเล ดาวเปราะ

 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น